สรุปปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่งเพื่อความก้าวหน้าของสตรี

ผู้แทนจาก 189 ประเทศพร้อมใจกันยอมรับปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่งอย่างเป็นเอกฉันท์ เมื่อเดือนกันยายน ปี 2538 หลังจากที่ตัวแทนจากภาครัฐและภาคเอกชนหลายหมื่นคนได้รวมกันที่กรุงปักกิ่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการประชุม สหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสตรีครั้งที่ 4 โดยมีการประชุมขององค์กรเอกชนจัดขึ้นคู่ขนานกันไปด้วย

ก่อนการประชุมที่ปักกิ่งได้มีการประชุมระดับโลกเรื่องสตรีมาแล้วสามครั้ง คือ ที่กรุงเม็กซิโก (ปี 2518) กรุงโคเปนเฮเกน (2523) และกรุงไนโรบี (2528)

ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่งเพื่อความก้าวหน้าของสตรี สะท้อนถึงความตั้งใจมั่นของประชาคมโลก ต่อเป้าหมายความ เสมอภาค การพัฒนา และสันติภาพ สำหรับสตรีทุกคน ทุกหนแห่ง

แผนปฏิบัติการปักกิ่งระบุประเด็นที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ 12 ประเด็นอันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความเสมอภาคระหว่าง หญิงชาย และการเสริมพลังให้สตรี ได้แก่ ความยากจน การศึกษาและฝึกอบรม สุขภาพ ความรุนแรง ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ เศรษฐกิจ อำนาจและการตัดสินใจ กลไกทางสถาบันสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน สิ่งแวดล้อม และเด็กผู้หญิง

แผนปฏิบัติการนี้ จัดเป็นวาระที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและเน้นการลงมือทำอย่างจริงจัง โดยได้กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ต่างๆ และชี้ชัดถึงปฏิบัติการที่จะเป็นภาระรับผิดชอบของภาครัฐ องค์กรเอกชน ประชาคมนานาชาติ และภาคเอกชนเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ ิต่อสตรีและสิ่งกีดขวางทั้งหลายที่กีดกั้นความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

โลกาภิวัฒน์

กระบวนการโลกาภิวัฒน์ได้ทำให้นโยบายรัฐในหลายประเทศเน้นไปที่การค้าอย่างเสรี ส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของเงินทุน ระหว่างประเทศมากขึ้น กิจกรรมของรัฐวิสาหกิจถูกโอนไปสู่ภาคเอกชน การใช้จ่ายของรัฐโดยเฉพาะในงานบริการสังคมลดลง การเปลี่ยนแปลงแบบแผนการผลิต และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและคมนาคมมีผลต่อชีวิตของสตรี ทั้งในฐานะ แรงงานและผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ความไม่เสมอภาค แต่รัฐยังไม่มีการประเมินผลความแตกต่างของผลกระทบระหว่าง หญิงชายอย่างเป็นระบบ

ผลประโยชน์ที่เกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกถูกจัดสรรอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งทำให้ความแตกต่างในรายได้กว้างขึ้น มีผลให้สตรีมีสัดส่วนในกลุ่มผู้ยากจนสูงกว่าบุรุษ และเพิ่มความไม่เสมอภาคระหว่างหญิงชาย อีกทั้งสตรียังพบกับสภาพการทำงาน และความปลอดภัยที่เลวลงกว่าเดิม โดยเฉพาะงานที่อยู่ในสาขานอกระบบและภาคชนบท แม้ว่าสตรีจะมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน เพิ่มขึ้น แต่ในหลายประเทศนโยบายเศรษฐกิจบางอย่างที่นำมาใช้กลับมีผลลบ สตรีอาจจะทำงานมากขึ้นแต่ค่าจ้างไม่ได้เพิ่มสูง ตามไปด้วย ไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง และสภาพการทำงานก็ไม่ได้รับการปรับปรุง ยังคงกระจุกตัวในงานที่มีค่าจ้างต่ำ เสี่ยงอันตราย มีงานทำเพียงบางเวลา หรือมีสัญญาจ้างที่ไม่มั่นคง ตลอดทั้งยังคงเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับค่าจ้างและกลุ่มแรกที่ต้องถูกปลด

การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ออกแบบและดำเนินงานอย่างไม่เหมาะสม การตัดงบประมาณในการบริการสังคมพื้นฐาน รวมถึง การศึกษาและสุขภาพสร้างผลกระทบทางลบ และก่อภาระหนักให้สตรีมากกว่าบุรุษ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาได้เปลี่ยนแบบแผนการผลิต การจ้างงาน และระบบวิธีการทำงานโดยนำสังคมที่ขึ้นอยู่กับความรู้ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอาจนำโอกาสใหม่ๆ มาสู่สตรีในทุกสาขา อาชีพ ถ้าสามารถเข้าถึงโอกาสเหล่านั้นได้อย่างเท่าเทียมกับบุรุษและได้รับการฝึกอบรมอย่างพอเพียง สตรีจำนวนมากทั่วโลก ยังไม่มีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับที่จะสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนข้อมูลประกอบธุรกิจ ศึกษาหาความรู้ และใช้ประโยชน์จากระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การเคลื่อนย้ายแรงงาน

การเคลื่อนย้ายแรงงานมีแบบแผนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยสตรีและเด็กผู้หญิงเข้ามามีส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อแสวงหางานต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานในไร่นา งานรับใช้ในบ้านและงานให้ความบันเทิง แม้ว่าการย้ายถิ่นจะเพิ่มโอกาสการหารายได้และการพึ่งตนเองให้กับสตรี แต่ทำให้บางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีฐานะยากจน การศึกษาน้อย ไร้ทักษะ และ/หรือเป็นแรงงานที่ผิดกฏหมาย ต้องทำงานในสภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ถูกเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ ทางเพศ รวมทั้งถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

สังคมผู้สูงอายุ

แนวโน้มทางประชากรชี้ว่า การที่อัตราการเจริญพันธุ์ลดลง อายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น และอัตราการตายต่ำลง ทำให้เกิดภาวะประชากร ชราขึ้นในหลายประเทศ สร้างปัญหาสุขภาพ อันมีผลโยงไปถึงระบบการให้บริการสาธารณสุข และการใช้จ่ายของรัฐ อายุขัยเฉลี่ยที่แตกต่างกันของหญิงชายทำให้จำนวนหญิงหม้ายและหญิงโสดที่อยู่ในวัยชราเพิ่มขึ้นอย่างมาก นำไปสู่การโดดเดี่ยว ทางสังคมและปัญหาสังคมด้านอื่นๆความรู้และประสบการณ์ชีวิตของสตรีสูงวัยอาจสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้ อีกมากถ้าได้รับการกระตุ้นและสนับสนุนอย่างเหมาะสม

การแพร่ระบาดของโรคเอดส์

สตรีจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบทางลบค่อนข้างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ โรคเอดส์ สิ่งจำเป็น เบื้องต้นในการป้องกันคือ ความสัมพันธ์ทางเพศอย่างมีความรับผิดชอบ และความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องหายุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างพลังให้สตรีเพื่อให้สามารถควบคุมและตัดสินใจได้อย่างมีอิสระ และรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกี่ยวโยงกับเพศของตน ต่อการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงและไร้ความรับผิดชอบ อันนำไปสู่ โรคติดต่อด้วยการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคเอดส์ ส่งเสริมพฤติกรรมของบุรุษที่แสดงความรับผิดชอบ ปลอดภัยและให้เกียรติ ต่อสตรี รวมถึงการเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

สตรีเป็นผู้รับภาระส่วนใหญ่ของการดูแลผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและเป็นโรคเอดส์รวมทั้งเด็กที่ต้องเป็นกำพร้าเพราะโรคนี้ เนื่องจาก โครงสร้างบริการสาธารณสุขที่เป็นอยู่ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้น นอกจากนั้น หญิงติดเชื้อเอชไอวี มักจะถูกเลือกปฏิบัติ ถูกประณาม และเป็นเหยื่อของความรุนแรง

ภัยพิบัติธรรมชาติ

ความเดือดร้อนความเสียหายจากภัยภิบัติธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความตระหนักถึงความไม่มีประสิทธิภาพและไม่พอเพียงของแนวทาง และวิธีการช่วยเหลือป้องกันที่มีอยู่ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ทั้งนี้สตรีต้องแบกรับภาระรับผิดชอบที่จะดูแลคนใน ครอบครัวที่ต้องเผชิญกับเหตุเฉพาะหน้าดังหล่าวให้ดำรงชีวิตต่อไปได้ สภาพการณ์เช่นนี้ตอกย้ำว่า มิติหญิงชายต้องถูกนำเข้าไปบูรณาการ ไว้ในยุทธศาสตร์การป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟูจากภัยพิบัติธรรมชาติที่จะพิจารณานำมาใช้

การแบ่งภาระงานระหว่างหญิงชาย

สภาพความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายที่เปลี่ยนรูปไป รวมถึงการเคลื่อนไหวรณรงค์เรื่องความเสมอภาค ได้นำไปสู่ความสนใจที่จะมี ีการประเมิน บทบาทหญิงชายเสียใหม่การสนับสนุนให้หญิงและชายคำนึงถึงบทบาทและความรับผิดชอบ ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อ บรรลุเป้าหมายความเสมอภาคและตระหนักถึงความจำเป็นที่จะเปลี่ยนเจตคติความเชื่อมั่นเดิมๆ ต่อบทบาทหญิงชาย อันเป็นอุปสรรค ไม่ให้สตรีได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ รวมทั้งความจำเป็นที่หญิงและชายจะต้องมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในงานต่างๆ ทั้งประเภทที่มี ีและไม่มี ค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน

การที่งานของสตรีนอกตลาดแรงงานไม่ได้รับการวัดมูลค่าเป็นตัวเงิน และไม่ได้รับการรวมไว้ในปัญชีประชาชาติ ทำให้คุณูปการที่สตรี ีมีต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจยังคงถูกประเมินค่าต่ำกว่าความจริง ตราบใดที่การแบ่งภาระและความรับผิดชอบระหว่างหญิงชาย ยังไม่มีความเท่าเทียม การทำงานของสตรีทั้งในตลาดแรงงานที่มีค่าตอบแทนกับงานดูแลย่อมนำไปสู่สถานการณ์ ที่สตรีต้องได้รับภาระในสัดส่วนที่สูงกว่าบุรุษ

12 ประเด็น ที่น่าห่วงใย